นายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้วางแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (อีเอสจี) โดยกลยุทธ์ในปี 66 เน้นทำงานที่เป็นระบบ เน้นการวัดผล และพัฒนาตามมาตรฐานสากล ในด้านมิติสิ่งแวดล้อม ธนาคารปล่อยสินเชื่อและลงทุนเพื่อความยั่งยืนในปี 65 แล้วกว่า 16,000 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปี 65 ที่ 25,000 ล้านบาท และปี 66 ตั้งเป้าหมายไว้ 50,000 ล้านบาท ส่วนระยะต่อไปธนาคารเตรียมเงินทุนด้านความยั่งยืนรองรับเศรษฐกิจสีเขียว รวม 200,000 ล้านบาท ภายในปี 73
ทั้งนี้ในปี 65 ธนาคารประเมินและจัดทำแผนลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และกลุ่มเหมืองถ่านหิน คิดเป็น 27% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในพอร์ต และมีโครงการส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยน เช่น โครงการโซลาร์พลัส ติดตั้งโซลาร์รูฟให้ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และโครงการส่งเสริมการเช่าใช้งานอีวี ไบค์ ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และช่วยให้ไรเดอร์กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงโอกาสในการประกอบอาชีพ
ส่วนมิติสังคม ธนาคารช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยเฉพาะลูกค้าบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน หรือสินเชื่อลูกค้ารายเล็ก ซึ่งอาจไม่มีบัญชีเงินเดือน ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีเอกสารยืนยันรายได้ โดยธนาคารจะพิจารณาอนุมัติจากข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ รวมถึงลูกค้าธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อปี โดยข้อมูล ณ เดือน ก.ย.ปี 65 ปล่อยสินเชื่อลูกค้ารายเล็กกว่า 500,000 ราย มูลค่าสินเชื่อกว่า 23,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายปี 68 จะให้ลูกค้ารายเล็ก 1.9 ล้านราย ให้เข้าถึงสินเชื่อได้ และต้องให้ความรู้ทางการเงินและความปลอดภัยทางไซเบอร์กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย 10 ล้านรายในปี 66
ขณะที่ มิติธรรมาภิบาล ธนาคารให้ความสำคัญเรื่องเกณฑ์การพิจารณาตามหลักอีเอสจี เพื่อดูแลให้สินเชื่อที่ปล่อยไปจะไม่สร้างผลกระทบเชิงลบแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้ทุกสินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ต้องเข้าสู่กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านอีเอสจี ทั้ง 100% โดยในปี 65 ข้อมูล ณ เดือน ก.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. มีสินเชื่อที่ผ่านกระบวนนี้กว่า 340,000 ล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ธนาคารเดินหน้าสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินและการให้ความรู้ทางการเงิน ด้วยการปรับปรุงกระบวนการพิจารณาการให้สินเชื่อ โดยใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาจากความเสี่ยง การประเมินความสามารถในการชำระเงิน ซึ่งถ้าเทียบสินเชื่อสีเขียวตอนนี้ยังมีน้อยแค่หลักหมื่นล้านบาท หรือมีสัดส่วนแค่ 1-3% ของพอร์ตสินเชื่อรวม 2 ล้านล้านบาทเท่านั้น แต่คำถามคือเมื่อไรจะเป็น 5% และเมื่อไรจะเป็นตัวเลขสองหลัก ต้องขึ้นอยู่กับลูกค้าและภาคธุรกิจจะสนใจที่จะขอสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อมอย่างไร”.